ฝึกสมองด้วย Sudoku

ฝึกสมองด้วย Sudoku


            ใครบางคนหรือมากมายเมื่อได้ฟังได้ยินคำคำนี้ Sudoku ก็ต้องเข้าใจตรงกันว่าจะต้องเป็นอะไรที่กับประเทศหรือคนญี่ปุ่นแน่ๆ ใช่มั้ยครับ ซึ่งมันก็ใช่จริงๆเพราะ Sudoku เป็นชื่อของเกมปริศนาอักษรไข้วหรือที่เรียกว่า หรือ Word Puzzles แต่ต่างกันตรงที่ว่า Sudoku ไม่ต้องอาศัยความรู้ด้านภาษาแต่อย่างใดเพราะไม่ใช้ตัวอักษร หากใช้ตัวเลขจาก 1 ถึง 9 เท่านั้น ผู้เล่นใช้เพียงวิธีคิดอย่างมีเหตุมีผลก็สามารถไขปริศนาได้ ถึงแม้ว่าเกม Sudoku จะฟังชื่อดูเหมือนเป็นเกมของประเทศญี่ปุน แต่เกมนี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นโดยคนญี่ปุ่น หากผู้คิดค้นขึ้นคือชาวอเมริกันแต่ไปใช้ชีวิตเติบโตในญี่ปุ่น

            ปัจจุบันได้เกิดสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับ Sudoku ขึ้นอย่างหลากหลายในโลก หนังสือเกี่ยวกับ Sudoku ขายดีเป็นอย่างมากเนื่องจากผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ซื้อหนังสือนี้มาลองเล่นดู ก็ยิ่งมั่นใจว่า Sudoku เป็นเกมที่เป็นที่นิยมเพราะตอนผมใช้ search ที่เวบ amazon ปรากฏว่ามีหนังสือเกี่ยวกับ Sudoku ให้เลือกมากมาย และยิ่งไปค้นใน google ก็ยิ่งไม่แปลกใจว่าทำไมเกมเกมนี้น่าจะฮิตมากและมาแรงในปัจจุบัน จนมีการพัฒนา Sudoku ให้เล่นบนมือถือได้แล้วในต่างประเทศ มีการจัดการการแข่งขัน Sudoku ชิงรางวัลมากมาย มีแม้กระทั่งเกมโชว์ Sudoku และ Sudoku ในสามมิติ

            สำหรับบ้านเรายังเงียบเฉยกับ Sudoku อยู่ ผมเองก็ตั้งใจทำเวบนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกดีๆสำหรับเด็กและเยาวชน สามารถที่จะฝึกฝนสมองตัวเองอยู่เสมอๆ โดยเมื่อได้เข้ามาเล่นและสัมผัสเกมเกมนี้ก็จะได้รู้ว่าจริงๆแล้ว Sudoku เป็นเกมที่ฝึกสมอง ใครก็สามารถเล่นได้โดยไม่ต้องใช้ความสามารถในการคิดคำนวณเลข ไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้คณิตศาสตร์เลย ขอให้เป็นคนที่มีความอดทน มีความมุ่งมั่นและมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลกันก็จะเกิดสนุกสนานได้ ประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุก็คือการใช้สมองทำให้โรคอัลไซเมอร์มาเยือนได้ช้า


           Sudoku บางทีอาจะสะกดว่า Su doku เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น หมายถึง เป็นตารางปริศนาที่ต้องใช้ตรรกะในการแก้ปัญหา ซึ่งจะรู้จักกันในนามของ Number Place ในสหรัฐอเมริกา จุดประสงค์ของตารางปริศนาเนี้ก็เพื่อที่จะให้ใส่ตัวเลข 1 ถึง 9 ลงใชช่อง ตารางขนาด 9 x 9 และมีตารางย่อยขนาด 3 x 3 โดยที่จะเริ่มจากตัวเลขที่กำหนดให้แตกต่างกันออกไป (หรือเรียกว่า ตัวเลขให้มา) ในแต่ละแนวนอนและแนวตั้ง

           ในการเล่นเกมส์ปริศนานี้ต้องใช้ความอดทน และใช้ตรรกะ ช่องตาราง gird นี้จะทำให้นึกถึง ตารางปริศนาในหนังสือพิมพ์ เช่น ตาราง crosswords หรือว่า chess นั่นเอง Sudoku เริ่มพิมพ์เมื่อปี 1999 แต่มาเป็นที่รู้จักกันในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1986 และรู้จักกันในประเทศอื่น ๆ ในปี 2005


           คำว่า Sudoku หมายถึง “ตัวเลขเดี่ยว” ซึ่งเลขในตารางปริศนา Sudoku นั้นใช้สำหรับความเหมาะสมของความสัมพันธ์ของเลขคณิต กับตัวเลข โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะของตัวเลข , รูปร่าง, สี สามารถใช้ได้โดยไม่ยึดกติกาใด ๆ โดยทำการเปลี่ยนแปลงกฎใด ๆ ผู้ให้กำเนิดเกมส์ปริศนาในนิตยสาร Dell โดยใช้ตารางตัวเลขปริศนา ในนิตยสารตั่งแต่เริ่มพิมพ์ เมื่อ 25 ปีก่อน จนกระทั่งเดี๋ยวนี้

           จุดสนใจของเกมส์จตัวเลขปริศนา ก็คือ กฎที่ง่าย แต่ถ้าใช้ในการแข่งขันก็จะมีระดับที่ยากขึ้น ได้มีอาจารย์แนะนำให้ใช้ Sunoco เป็นแบบฝึกหัดของการใช้ logic (ตรรกะ) และเหตุผล ซึ่งสามารถเลือกความยากง่ายของตารางเลขปริศนานี้ให้เหมาะสมกับผู้เล่นได้ ตารางปริศนานี้สามารถหาเล่นฟรีตามสำนักพิมพ์และสามารถให้คอมพิวเตอร์ gencrote ได้


           เกมส์ปริศนา ประกอบด้วย ตารางขนาด 9 x 9 และมีตารางย่อยขนาด 3 x 3 ในบางช่องจะมีตัวเลขอยู่ซึ่งเป็นตัวเลขที่กำหนดมาให้ จุดประสงค์ก็คือ ให้เติมตัวเลขลงในช่องที่ว่างอยู่ 1 ตัวเลขต่อหนึ่งช่อง ดังนั้นในแต่ละแถวแนวตั้งและแถวแนวนอน จะประกอบไปด้วยเลข 1 – 9 ครบทุกช่อง โดยที่ตัวเลขจะไม่ซ้ำกัน และในแต่ละทอศทาง ก็จะไม่ซ้ำกันด้วย รวมถึงตารางย่อยก็ต้องมีเลข 1 – 9 โดยไม่ซ้ำกัน ดังนั้นคำว่า ตัวเลขเดี่ยว Single Number จึงเกิดขึ้นจากตารางเลขปริศนานี้

        สรุปกฏกติกาได้ 3 ข้อดังนี้

ตาราง 4 x 4  
1. ตัวเลขที่เติมในแนวนอน ต้องเติมเลข 1-4 และต้องไม่ซ้ำกัน
2. ตัวเลขที่เติมในแนวตั้ง ต้องเติมเลข 1-4 และต้องไม่ซ้ำกัน
3. ทุกตารางย่อย 2 x 2 ต้องเติมเลข 1-4 และต้องไม่ซ้ำกัน

ตาราง 6 x 6  
1. ตัวเลขที่เติมในแนวนอน ต้องเติมเลข 1-6 และต้องไม่ซ้ำกัน
2. ตัวเลขที่เติมในแนวตั้ง ต้องเติมเลข 1-6 และต้องไม่ซ้ำกัน
3. ทุกตารางย่อย 2 x 3 ต้องเติมเลข 1-6 และต้องไม่ซ้ำกัน

ตาราง 9 x 9  
1. ตัวเลขที่เติมในแนวนอน ต้องเติมเลข 1-9 และต้องไม่ซ้ำกัน
2. ตัวเลขที่เติมในแนวตั้ง ต้องเติมเลข 1-9 และต้องไม่ซ้ำกัน
3. ทุกตารางย่อย 3 x 3 ต้องเติมเลข 1-9 และต้องไม่ซ้ำกัน


           วิธีการแก้ปัญหา ในการแก้ปัญหาของตารางปริศนาตัวเลขนี้ จะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคื อ Scanning , Marking up and Analysing

Scanning (มองกวาด หรือ ดูผ่าน ๆ ตา)
การมองกวาด จะเริ่มในตอนแรก จนถึงขั้นตอนของการแก้ปัญหา บางครั้งจะใช้การมองกวาดอยู่บ่อย ๆ ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ ซึ่งเทคนิคในการมองกวาดมี 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ

1. Cross-hatcing เป็นการ scan ไปตามแถวแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อที่จะดูว่าแถวไหนมีตัวเลขอยู่และจะได้ตัดออกไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็ว เราจะ scan ตัวเลขตามลำดับ ตั้งแต่เลข 1 – 9

2. Counting การนับ 1 – 9 ในแถวแนวนอนและแนวตั้ง ในตารางย่อย และดูว่ามีตัวเลขไหนหายไป การนับที่ขึ้นอยู่กับตัวเลขสุดท้ายของการค้นพบ จะทำให้การค้นหานั้นเร็วขึ้น จะใช้ในกรณีที่ค่าของแต่ละช่องจะนับถอยหลัง , ในด้านตรงกันข้าม (ซึ่งจะใช้ในปริศนายาก ๆ ) ซึ่งจะต่างกับการ scanning ในแถวแนวตั้งและแนวนอน และในช่องย่อยว่ามีค่าไหนที่เราไม่เห็นแต่ยังเหลืออย

Marking Up
เมื่อเรา scan แล้วไม่สามารถจะเติมตัวเลขต่อได้ เราอาจใช้วิธีเรียกว่า การ Marking หรือการทำเครื่องหมายไว้ในช่องว่าง ซึ่งมี 2 วิธีที่นิยมกัน คือ การบันทึก (ทำเครื่องหมาย) และการเขียนเครื่องหมายไว้ข้างใต้

โดยที่ในการเขียนเครื่องหมายไว้ข้างในนั้น เราจะเขียนตัวเลขที่คิดไว้ว่าจะอยู่ในช่องนั้นอยู่ข้างใต้ช่อง แต่ข้อเสียของมันก็คือ ส่วนใหญ่แล้วตารางปริศนาที่มีอยู่ตามหนังสือพิมพ์นั้นจะเล็ก ไม่สามารถที่จะเขียนตัวเลขข้างใต้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็อาจจะทำการ copy ตารางปริศนาตัวเลขให้ใหญ่ขึ้น หรืออาจติดใช้ดินสอเส้นเล็ก และกบ หรืออาจจะใช้ดินสอกดก็ได้

ในส่วนการทำเครื่องหมาย อาจจะแทนด้วยจุด เช่น จุดบนมุมซ้ายแทน 1 มุมขวาล่างแทน 9 ซึ่งการใช้จุดนั้นมีประโยชน์สำหรับตารางปริศนาเล็ก เพราะฉะนั้นการใช้เครื่องหมายแทนตัวเลขนั้นต้องใช้ความชำนาญ เพราะการจุดผิดที่ หรือจุดที่เกิดขึ้นจากความประมาทและความไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะฉะนั้นแนะนำว่าให้ใช้ดินสอในการทำเครื่องหมายจะดีกว่า

Analysing (การวิเคราะห์)

ในส่วนของการวิเคราะห์ มี 2 ขั้นตอน คือ การขจัด หรือตัดทิ้ง กับการ what – if

ในขั้นตอนของการขจัดหรือตัดทิ้ง จะตัดตัวเลขออกจากช่อง ที่มีตัวเลขอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้ เพื่อที่จะได้เหลือตัวเลขน้อยลง หลังจากที่ใส่ตัวเลขเพิ่มลงไปเราก็จะทำการมองผ่าน (Scanning) อีกครั้ง เพื่อที่จะดูว่าเมื่อใส่ตัวเลขไปแล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือจะตัดอะไรออกได้อีกบ้าง เป็นขั้นเริ่มต้นของการตัดตัวเลขที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป

ใน set ของเลข 1 – 9 ผลสุดท้ายจะอยู่ในช่องที่ควรจะเป็น ซึ่งวิธีนี้เป็นวีที่ใช้ในการตรวจสอบอย่างละเอียดว่าเราควรจะใส่ตัวเลขใน ช่องไหน หลังจากที่มีตัวเลขที่ให้มา ในแต่ละ set ซึ่งสามารถที่จะตัดตัวเลขที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากตารางย่อยได้

สามารถไปทดลองเล่นได้ที่ http://www.thaisudoku.in.th

ขอขอบคุณที่มา http://www.thaisudoku.in.th

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand