แผนปฏิบัติการเพื่อบริหารสมองให้สมองใส

แผนปฏิบัติการเพื่อบริหารสมองให้สมองใส

ลับสมองให้เฉียบคมด้วยแผนปฏิบัติต่อไปนี้ ฝึกทุกวันเพื่อให้สมองฉับไว ลืมไปได้เลยอาการขี้หลงขี้ลืมเพราะวัยที่เพิ่มขึ้น...

          ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่า คนเราใช้ศักยภาพของสมองตนเองไม่ถึง 1% เราสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น หรือแม้แต่แก้ปัญหาซับซ้อนได้ ถ้าเรารู้จักดึงศักยภาพทั้งมวลของสมองออกใช้ ข่าวดีคือเราสามารถบริหารสมองของเราให้เฉียบคมและฉับไวได้

          มีหลักฐานยืนยันว่า การบริหารสมองช่วยให้สมองทำหน้าที่ได้ดีขึ้น เบอร์รี่กอร์ดอน ผู้อำนวยการ The Memory Clinic และศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา และวิทยาศาสตร์การเรียนรู้แห่งสถาบันการแพทย์จอห์น ฮอปกิ้นส์ สหรัฐฯ กล่าว "ไม่มีใครทราบเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ แต่มีคำอธิบายหนึ่งที่น่าเป็นไปได้คือ การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้การเชื่อมติดต่อกันของเซลล์สมองมีมากขึ้น มีการสร้างเซลล์สมองใหม่ และสามารถใช้เซลล์สมองที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น"

          การบริหารสมองช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ มีผลการศึกษาวิจัยมากมายระบุว่า การที่ผู้สูงอายุรับเบี้ยบำนาญที่สมองยังเฉียบคมเหมือนใบมีดโกน เป็นเพราะพวกเขามีชีวิตที่แอ็คทีฟ ใช้สมองเป็นประจำ การศึกษาวิจัย ครั้งล่าสุดในสหรัฐฯ เกี่ยวกับการฝึกฝนการรับรู้ ซึ่งดำเนินการโดยสถาบัน The National Institute on Aging พบว่าการบริหารสมองสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ติดต่อกัน ทำให้คนอายุ 65 ปีขึ้นไปมีความจำและสมาธิ มีทักษะในการแก้ปัญหาดีขึ้น ผลการวิจัยยังระบุด้วยการเล่นเกมลับสมอง เช่น เล่นไพ่และหมากรุกจะช่วยให้สมองฉับไว

          มี กลเม็ดเคล็ดลับมากมาย ที่จะช่วยให้สมองของคุณแจ่มใสและตื่นตัวอยู่เป็นประจำ วิธีบริหารสมองที่ทำได้ไม่ยากเหล่านี้ช่วยลับสมองให้เฉียบคม จำไว้ว่ายิ่งคุณลับสมองมากเท่าไร สมองของคุณก็จะยิ่งแหลมคมมากเท่านั้น

คิดว่าตัวเองฉลาด

          หลายคนชอบตำหนิตัวเอง โดยเฉพาะชอบว่าตัวเองโง่ ได้เวลาเปลี่ยนความคิดฝังหัวนั้นซะ การตอกย้ำกับตัวเองบ่อย ๆ ว่าหัวทึบ คิดอะไรช้า หรือสมองเสื่อมไม่ต่างอะไรกับการร่ายเวทมนตร์คาถาด้านลบ มันจะทำให้สิ่งที่คุณพูดกลายเป็นความจริง ทำไมไม่ลองสร้างสรรค์คำพูดที่ก่อประโยชน์และพลังดูบ้าง เช่น พูดว่า "ฉันมีมันสมองที่วิเศษและทรงประสิทธิภาพ" หรือ "สมองของฉันทำหน้าที่ได้สุดยอด" บอกกับตัวเองเช่นนี้บ่อย ๆ แล้วคุณจะสังเกตเห็นถึงความแตกต่าง

เล่นคำ

          การเล่นกับภาษาเป็นเรื่องสนุกและท้าทายสติปัญญาไม่น้อย ไม่เชื่อลองนำพยัญชนะและสระที่กำหนดให้ มาผสมให้ได้คำที่มีความหมายมากที่สุดเช่น กำหนดพยัญชนะ ก น ย บ ด และสระ า ไ เ-า โดยเล่นแข่งกันภายในเวลาที่กำหนด

 

memo

บริหารสมองด้วยวิธี Neurobics

          การทำกิจวัตรประจำวันธรรมดา ๆ ให้แตกต่างไปจากที่ทำอยู่เป็นประจำจะช่วยให้สมองกระปรี้กระเปร่า ผลการวิจัยระบุว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีที่คุณปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จะช่วยกระตุ้นเส้นประสาทส่วนที่ไม่ได้ใช้ในสมอง ดังนั้นลองหากุญแจโดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการใช้สายตา การแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด หรือขับรถไปทำงานโดยเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่นที่ไม่ได้ใช้ประจำ

เล่นสนุกกับชื่อ

          คุณชอบลืมชื่อคนอยู่เป็นประจำใช่ไหม ลองใช้สูตรง่าย ๆ 2 ขั้นตอนดังนี้ ต่อไปจะได้ไม่หน้าแตกอีก เริ่มจากการมีสมาธิ "ถ้าเราตั้งอกตั้งใจรับข้อมูลที่ต้องการเรียนรู้และจดจำ เราก็จะจำข้อมูลนั้นได้" ดร.ซินเธีย กรีน กล่าว จากนั้นกระตุ้นพลังสมองของเราโดยการทำข้อมูลให้มีความหมายมากขึ้น ลองจดจำชื่อคนด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง "ถ้า คุณอยากจำชื่อแฟรงค์ ฮิลล์ คุณอาจใช้วิธีผูกเป็นเรื่องเพื่อให้จำชื่อได้ "Frankly, I think he’s getting over the hill" หรืออยากจำชื่อมาริแอนน์ แมกดิซี่ ก็ให้จำว่า Marianne makes disks" เอาละ ลองเอาชื่อคุณเองมาผูกเป็นเรื่องดู แล้วบอกให้คนอื่นรู้พวกเขาจะได้จำชื่อคุณได้

วาดรูป

          เมื่อ รู้สึกว่าไม่มีสมาธิ การวาดรุปจะช่วยดึงจินตนาการที่ล่องลอย ให้ปะติดปะต่อเป็นรูปเป็นร่าง คุณไม่จำเป็นต้องวาดรูปเก่ง แค่สเก็ตช์เป็นภาพคร่าว ๆ ก็ได้ การวาดรูปช่วยฝึกให้คุณคิดอะไรเป็นรูปธรรม และเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง ระยะทาง และพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงกับความคิด อันที่จริงนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ก็เริ่มต้นจากการวาดภาพบนสมุดบันทึก วิธีนี้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ต้องใช้สมองซีกซ้าย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผลอยู่เป็นประจำ เพราะจะช่วยให้คนเหล่าได้ใช้สมองซีกขวา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

วาดรูป

สนุกกับเกม

          เกมนี้คุณไม่จำเป็นต้องแข่งกับใคร แต่เป็นการฝึกคิดเร็วและลับสมองให้เฉียบคม

           หมากรุก ช่วยพัฒนาความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง ระยะทาง และพื้นที่ อีกนัยหนึ่งคือทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของรูปร่าง (เช่น เวลาที่เราอ่านแผนที่) และไหวพริบด้านตัวเลข รวมทั้งได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดเชิงกลยุทธ์

          เล่นครอสเวิร์ดทุกวันเพื่อลับสมอง หาเล่นได้ตามนิตยสารและหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ

          ซื้อหนังสือเกมปริศนาต่าง ๆ ฝึกทำเพื่อทดสอบไอคิวตัวเอง

          เกมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีเวลาเป็นตัวควบคุม เกมเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้สมองต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว (หรือเพื่อให้ได้คะแนนสูงสุด)

          เล่นสแครบเบิ้ล เล่นเป็นประจำจะช่วยให้สมองว่องไวและเพิ่มพูนคำศัพท์ ควรมีพจนานุกรมไว้ข้างตัวด้วยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำศัพท์

crossword

พัฒนาไอคิว

          การฝึกฝนคำถามทดสอบไอคิวจะช่วยให้สมองเฉียบคม ความเร็วก็อีกปัจจัยสำคัญ เพราะแบบทดสอบไอคิวส่วนใหญ่ต้องการเวลาสั้น ๆ ในการตอบ จำไว้ว่าการฝึกฝนจะช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาง่าย ๆ ได้เร็วขึ้น ลองแก้ปริศนาต่อไปนี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

         1.ตัวเลขใดที่หายไป

                    2     4     3     9     4     ?     5     25     6     36

         2.จงเลือกตัวอักษร 9 ตัวจากข้อความต่อไปนี้ "IT IS CLEAR" แล้วนำมาเรียงให้เป็นคำใหม่ที่มีความหมายเช่นเดียวกับข้อความเดิม คำนั้นคืออะไร

         3.ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัวใดที่เมื่อนำมาวางไว้ข้างหน้าคำต่อไปนี้แล้ว จะก่อให้เกิดคำที่ยาวขึ้น

                      FOOD     FRONT        LED     SIDE     SON

         4.ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวใดที่เมื่อนำมาวางแทรกไว้ตรงกลางแต่ละคำต่อไปนี้ จะก่อให้เกิดคำที่ยาวขึ้น

                    DOES     CORNED     OUTING

         5.ถ้า AE = 4 และ GN = 7 OW = เลขอะไร?

         6.ตัวอักษรใดที่หายไป

                    Z     X     C     B     V     ?

          เฉลยคำตอบ 1) 16 (2, 3, 4, 5 และ 6 ยกกำลัง 2) 2) Realistic 3) Sea 4) Do (dodoes, cordoned และ outdoing) 5) 8 (ผลลบระหว่างลำดับของพยัญชนะตัวแรกและพยัญชนะตัวที่สอง) 6) B (ตัวอักษรจากซ้ายไปขวาแถวล่างสุดบนแป้นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์)

          *** ฝึกลับสมองเพิ่มเติมได้ที่ www.mensa.org/workout.html มีคำถามทั้งหมด 30 คำถาม ให้คุณตอบภายในเวลาครึ่งชั่วโมง

ตั้งใจใจจดจ่อ

          อย่าทำงานหลายอย่างในคราวเดียวกัน เพราะจะทำให้จิตใจวอกแวก ทำใจให้สงบ บริหารจิตของคุณด้วยการทำสมาธิจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คิดพิจารณาอย่างรอบคอบจนกว่าจะได้คำตอบที่น่าพอใจ คุณจะได้เรียนรู้การคิดวิเคราะห์ และรู้จักปรับแนวความคิดให้เข้ากับสถานการณ์ รวมถึงคิดหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหา

เติมพลังให้สมอง

          ถ่ายเทข้อมูลในสมอง ซูซี่ กรีฟส์ โค้ชชีวิตแนะว่า "เขียนความคิดต่าง ๆ ในหัว แผนปฏิบัติต่าง ๆ และสิ่งที่ต้องทำลงในสมุดบันทึกก่อนเข้านอน เพื่อเป็นการเคลียร์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ติดอยู่ในเซลล์สมองออกไป คุณจะได้เริ่มต้นรับเช้าวันใหม่ด้วยความสดชื่น

          คิดนอกกรอบ ในระหว่างวัน ให้ลองทำอะไรแปลก ๆ "ทำ ทุกอย่างให้ตรงข้ามกับที่ทำอยู่เป็นประจำ เช่น กินของกินที่คุณเกลียด สวมกางเกงหนังฟิตเปรี๊ยะสีชมพู คิดหรือทำอะไรที่ต่างไปจากนิสัยปกติ การเดินก้าวออกจากโซนอุ่นใจเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลับวิธีคิดเกี่ยวกับตัว เองและคนอื่น ๆ ให้แหลมคมยิ่งขึ้น"


แต่งเติมจินตนาการ

          เราเสริมสร้างความจำให้ดีขึ้นได้ โดยนำไปเกี่ยวโยงกับประสาทสัมผัสด้านอารมณ์ เสียง ภาพ และกลิ่น จะช่วยให้เราจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ลองนำตัวเลขไปสัมพันธ์กับรูปร่าง

          "ให้ 1-10 เป็นตัวแทนสิ่งของที่มีรูปร่างใกล้เคียงกัน" แวนด้านอร์ธ ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Buzan Centres Worldwide อธิบาย ดังนั้น 1= เทียนไข, 2 = หงส์, 3 = หัวใจ (มองด้านข้าง), 4 = เรือใบ, 5 = ตะขอ, 6 = งวงช้าง, 7 = ยอดหน้าผา, 8 = สโนว์แมน, 9 = ลูกโป่งมีด้ามจับ, 10 = ไม้เบสบอล และลูกบอล เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น ให้เชื่อมโยงบางสิ่งกับของนั้นกับความสนุก การ์ตูน แอ็กชั่น และประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ใช้เลข 1 (เทียนไข) เพื่อให้จำได้ว่าต้องไปรับเสื้อที่ซักแห้ง (ให้จินตนาการว่าเสื้อผ้าแขวนอยู่เหนือเทียนไข คุณได้กลิ่นหอมสะอาดสดชื่นของเสื้อผ้า ขณะที่เสื้อผ้านั้นปลิวไสวอยู่ท่ามกลางลมร้อนโชยมาอ่อน ๆ)

วิตามิน

อาหารสมอง

          เริ่มวันใหม่ด้วยการโรยเลซิธินชนิดผง (หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารสุขภาพ) ลงบนซีเรียลอาหารเช้า เลซิธินมีโคลีน (หนึ่งในสมาชิกของตระกูลวิตามินบี) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างเซลล์สมองและสารสื่อนำประสาท ช่วยส่งผ่านข้อมูลส่วนที่เป็นความจำในสมอง ตามด้วยของว่างจำพวกถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่าง ๆ ซึ่งมีไขมันโอเมก้า 3 จึงช่วยพัฒนาการทำงานของสมอง

          อย่าลืมเสริมด้วย น้ำมันปลา เนื่องจากอุดมด้วยไขมันโอเมก้า 3 และโคลีน การรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมและอัลไชเมอร์ เชื่อกันว่านั่นเป็นเพราะกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดการอักเสบของสมอง และช่วยสร้างเซลล์ประสาททางเลือกที่ดีคือ ปลาเทร้าต์ ซึ่งมีไขมันเป็น 1/3 ของปลาแซลมอน

          นาตาลีเสริมว่า "ใน เซลล์ประสาทและเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทอุดมด้วยไขมัน จึงเสี่ยงต่อการถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการปกป้องเป็นอย่างดี ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์สูงซึ่งพบในผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่าง ๆ หรือทานแอนตี้ออกซิแดนท์ในรูปอาหารเสริม" คุณอาจทานใบแป๊ะก๊วยเสริมด้วยก็ได้ สมุนไพรชนิดนี้สกัดจากต้นแป๊ะก๊วย มีสรรพคุณช่วยให้ความจำดี สมองไว (ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ หากอยู่ในระหว่างได้รับยารักษาโรคบางอย่าง)  
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand