การบริการ...กายภาพบำบัด ที่บ้าน..คืออะไร?
บริการทางกายภาพบำบัด ที่บ้านของผู้ป่วยเพื่อตรวจประเมินและบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น และ ข้อต่อต่างๆ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น...
อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเด็กที่พิการทางสมอง
รวมทั้ง บริการให้คำปรึกษา แก้ไขภาวะการบาดเจ็บจาก..... การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ที่มีปัญหา ปวด ตึง เมื่อย ร้าว กล้ามเนื้อ ข้อ เส้นเอ็น กระดูก...
ภาวะโรคที่สามารถรับการรักษาทางภายภาพบำบัด
1. ผู้ป่วยระบบประสาท
- ผู้ป่วยอัมพฤต อัมพาต (Stroke, Brain injury, Cord injury)
- ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- ผู้ป่วยเด็กสมองพิการตั้งแต่กำเนิด (Cerebral palsy)
2. ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
- กลุ่มอาการปวดคอ ปวดบ่อ (Neck pain)
- กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกคอเลื่อน (C-Spondylosis)
- กลุ่มอาการชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ (Nerve compression)
- กลุ่มอาการจากหมอนรองกระดูกเสื่อม (Spondylosis) / เคลื่อน (Herniated disc)
- กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondyl disthesis)
- กลุ่มอาการปวดหัวไหล่ (Shoulder pain), ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
- กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อข้อศอก (Tennis elbow, Gofer’s elbow)
- กลุ่มอาการปวดมือ, นิ้วมือ (CTS, Trigger finger)
- กลุ่มอาการปวดข้อเข่า (Knee pain, Osteoarthritis)
- กลุ่มอาการข้อเท้า, ส้นเท้า (Ankle sprain, Plantar fascialtis)
- กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน (Muscle sprain)
- กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
- กลุ่มผู้ป่วยกระดูกหัก ใส่เฝือก / ดามเหล็ก (Fracture)
3. ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด
กายภาพบำบัดคืออะไร
กายภาพบำบัดคือ วิชาชีพสาขาหนึ่งทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทั้งในแง่ของการส่งเสริม , ป้องกัน , รักษา และฟื้นฟู โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และเครื่องมือทางกายภาพบำบัดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ บำบัดความเจ็บป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้สามารถทำงานและ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างเต็มที่
กายภาพบำบัดในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นมานานกว่า 40 ปี แต่ว่าเพิ่งจะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากเกิดการตื่นตัวของคนไทยที่จะดูแลรักษาสุขภาพโดยไม่พึ่งยา ในสมัยก่อน คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า กายภาพบำบัด ทำงานเฉพาะเพียงแต่ดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังการผ่าตัด แต่อันที่จริง บทบาทของกายภาพบำบัดนั้น กลับไม่ได้จำเพาะอยู่แต่เพียงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย แต่ยังมีบทบาทในการรักษา ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อีกทั้งงานกายภาพบำบัด ยังสามารถแบ่งประเภทย่อยเป็นด้านต่างๆ พอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. ด้านระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ
2. ด้านระบบประสาท
3. ด้านระบบหัวใจ ทรวงอก และหลอดเลือด
4. ด้านกายภาพบำบัดเด็ก
5. ด้านการยศาสตร์
6. ด้านให้คำปรึกษาทางกายภาพบำบัด
นับได้ว่ากายภาพบำบัดเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทในหลายๆด้านในการดูแลคนไทยให้มีสุขภาพดี
บทบาทหน้าที่ของนักกายภาพบำบัด
- ตรวจประเมินความผิดปกติของผู้ป่วย
- วิเคราะห์และวางแผนการรักษาทางกายภาพบำบัด
- ให้คำแนะนำ และทางเลือกในการรักษาแก่ผู้ป่วย
- ให้การรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสม
- แนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วยเมื่อค้นพบวิธีการรักษาที่ดีกว่า
- ศึกษาค้นคว้าวิธีการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น