home » หลักการสำคัญในการดูแลผู้ที่มีปัญหาช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ที่บ้าน »

หลักการสำคัญในการดูแลผู้ที่มีปัญหาช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ที่บ้าน

ประกอบด้วย

                1. การดูแลกิจวัตรประจำวัน เช่น อาหาร ความสะอาดของร่างกาย และช่องปาก

                2. การดูแลเกี่ยวกับ โรคที่ป่วย ไม่ให้ทรุดลง ด้วยการพาไปตรวจ พบแพทย์ ตามความจำเป็นให้กินยา อย่างสม่ำเสมอ และระวัง การเกิดโรคแทรกซ้อน

                3. การดูแลด้านจิตใจ ไม่ให้เกิดภาวะเครียด จะมีผลกระทบต่อ สุขภาพ ทางร่างกาย ที่แย่อยู่แล้วให้ยิ่งทรุดลงเพราะ "ใจไม่สู้" เสียแล้ว

                4. การดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมกับสภาพของโรคทางกาย และสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นสำหรับ ผลทางใจ รวมทั้งการป้องกันอุบัติเหตุ

                5. การทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันข้อติด และกล้ามเนื้อลีบ ส่งเสริม การออกกำลังกาย ในส่วนที่ยังดี            

   เพื่อกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และปอดแต่ทั้งนี้ ผู้ดูแลจะต้องเตรียมความพร้อมใน 2 เรื่องสำคัญ   คือ

                1. เตรียมใจ  ในการยอมรับและเข้าใจปัญหาผู้ป่วย เข้าใจภาวะจิตใจ ปฏิกิริยา และพฤติกรรมของผู้ป่วย

ที่แสดงออกภายใต้ภาวะเครียด และท้อแท้สิ้นหวัง หากผู้ดูแลก็มีอารมณ์เครียด หรือหงุดหงิดด้วยจะยิ่งทำให้

สภาพแย่ลงทั้งผู้ป่วย  และผู้ดูแลรวมทั้งสมาชิกครอบครัวทั้งหมด

                2. เตรียมความรู้  ในเรื่องโรคและวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้อง รวมทั้งการหาความรู้จากเอกสาร หนังสือ แผ่นพับต่างๆ

การเตรียมของใช้ที่จำเป็นเฉพาะโรค และการระวังการติดเชื้อกรณีต่างๆ

                ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังบางโรค จำเป็นต้องมีการทำกิจกรรมพิเศษ และใช้วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม  ดังนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จึงจำเป็นต้องเตรียมของใช้ที่ใช้ประจำวันแล้วยังต้องเตรียมของใช้อื่นๆ  ที่จำเป็นให้พร้อมอยู่เสมอ  เพื่อความสะดวก  และสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่าง

ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการเตรียมของใช้ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคที่พบบ่อยๆ ดังนี้

 

                1.  การเตรียมของใช้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลทั่วไป

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นมีดังนี้

                1.  ผ้าก๊อซสะอาดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

                2.  สำลีก้อนสะอาดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

                3.  ไม้พันสำลีขนาดกลางสะอาดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

                4.  ปากคีบมีเขี้ยว

                5.  ปากคีบไม่มีเขี้ยว

                6.  ขันอลูมิเนียมขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้วครึ่ง  2 - 4 อัน

                7.  น้ำเกลือสำหรับชำระแผล (น้ำเกลือ 0-9 %)

                8.  แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดแผล (แอลกอฮอล์ 70 %)

                9. ยาป้ายแผลเบต้าดีน / โพรวีดีน

              10. ถุงพลาสติกพร้อมที่รองรับขยะจากการทำแผล

      11. พลาสเตอร์ปิดแผล

หมายเหตุ    การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์จะขึ้นกับชนิดของบาดแผลรายการ 4 - 0 ต้มในน้ำเดือดฆ่าเชื้อ  ก่อนใช้

 

2.  การเตรียมของใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีท่อหายใจที่คอ

                ในการทำแผลเจาะคอจากที่มีท่อหายใจเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเหมือนบาดแผลทั่วไป และสิ่งที่เพิ่มเติมคือ

                1.  ผ้าก๊อซตัดเป็นรูปตัว Y  ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

                2.  ผ้าก๊อซพับเป็นเส้นยาว  สำหรับเปลี่ยนสายผูกท่อเจาะคอ

                3.  สายดูดเสมหะ  ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้วบรรจุในซองที่ปิดมิดชิด

                4.  เครื่องดูดเสมหะ หรือลูกสูบยางแดงขนาดใหญ่

                5.  ปากคีบสะอาดพร้อมขวดเล็กปากกว้างสำหรับใส่ปากคีบที่ต้มฆ่าเชื้อแล้ว โดยต้มใน

     น้ำเดือด 30 นาที

6. ขวดปากกว้าง 1 ใบ สำหรับใส่น้ำสะอาดผสมผงซักฟอกเพื่อล้างสายดูดเสมหะ

 

                3.  การเตรียมตัวของใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลจากการผ่าตัด และมีวัสดุอุปกรณ์เสริม

                     3.1  ผู้ป่วยที่มีแผลเปิดเอาลำไส้ออกทางหน้าท้อง (Colostomy bag)

เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เหมือนทำแผลโดยทั่วๆ ไปสิ่งที่เพิ่มเติมคือ

                                1. แผ่นหรือแป้นติดกับผิวหนังบริเวณรอบรูเปิดของลำไส้

                                2. ถุงรองรับของเสียออกจากร่างกาย

                                3. ครีมหรือผงป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง

                                4. กรรไกรปลายโค้ง

                                5. พลาสเตอร์ชนิดกันน้ำได้

                     3.2  ผู้ป่วยที่มีท่อระบายออกจากไต , ท่อไต หรือมีท่อล้างไตทางช่องท้อง

เตรียมวัสดุอุปกรณ์เหมือนทำแผลทั่วไปสิ่งที่เพิ่มเติมคือ

                                1. ผ้าก๊อซตัดเป็นรูปตัว Y  ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว

                                2. ถุงรองรับสิ่งที่ระบายออกในกรณีที่เปื้อนมีตะกอนขุ่นควรเปลี่ยนใหม่

 

                4.  การเตรียมของใช้ในผู้ป่วยที่มีสายยางให้อาหารผ่านจมูก

                     1. สายยางให้อาหารทางจมูกเบอร์ 16 หรือตามความเหมาะสมกับผู้ป่วย

                     2. กระบอกให้อาหารทางสายยางขนาด 50 ซีซี

                     3. อาหารเหลว หรืออาหารของสำเร็จรูปที่เตรียมให้ผู้ป่วย

                     4. น้ำต้มสุกสำหรับให้ผู้ป่วยหลังให้อาหารสายยางเรียบร้อยแล้ว

                     5. พลาสเตอร์ผ้าสำหรับเปลี่ยนที่จมูกเมื่อเปื้อน

                     6. สารหล่อลื่อ (K-Y jelly ถ้ามี)

 

                5.  การเตรียมของใช้ในผู้ป่วยที่มีสายสวนคาปัสสาวะ

                     1. สายสวนคาปัสสาวะที่หลอดเชื้อ เบอร์ 14  16  หรือตามความเหมาะสมของผู้ป่วย

                     2. ถุงรองรับน้ำปัสสาวะ

                     3. สารหล่อลื่น K - Y jelly

                     4. พลาสเตอร์สำหรับติดสายสวนปัสสาวะ

                     5. น้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับทำความสะอาดบริเวณอวัยะสืบพันธุ์ ที่นิยมใช้คือ เซพลอน

                         1 : 100

                     6. ถุงมือปราศจากเชื้อ 2 คู่

                     7. ชุดสวนปัสสาวะ (เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านเตรียม)

                     8. กระบอกฉีดยาชนิดปราศจากเชื้อ 10 ซีซี  2 อัน

                     9. น้ำกลั่นปราศจากเชื้อ ขวดละ 20 ซีซี

                     10. ถุงพลาสติกสำหรับใส่ขยะ

                     11. ผ้ายางรองก้น (ถ้ามี) ในกรณีที่ไม่มีอาจใช้ผ้าปูหรือผ้านุ่งที่สะอาดแทน

 

                6.  การเตรียมของใช้ในผู้ป่วยที่สวนปัสสาวะแบบสะอาดเป็นครั้งคราวที่บ้าน

                     1. สำลีสะอาดปราศจากเชื้อโรค

                     2. น้ำยาเซพลอน 1 : 100 (น้ำต้มสุก 100 ซีซี ผสมในเซพลอนเข้มข้น 1 ซีซี)

                     3. สายยางแดง หรือชุดสายสวนปัสสาวะด้วยตนเองของต่างประเทศซึ่งอยู่ในหลอดพลาสติก

                         เฉพาะแช่น้ำยาได้และมีหูแขวน

                     4. สารหล่อลื่น เช่น K-Y jelly / วาสลิน / กลีเซอรีน

                     5. ภาชนะสำหรับรองรับน้ำปัสสาวะ

 

                7.  การเตรียมของใช้ในผู้ป่วยชายที่สวมปลอกบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือ  ตนเองได้ ในการขับถ่ายปัสสาวะ

                     1. ถุงยางอนามัย

                     2. ยางรัดของ

                     3. ถุงรองรับน้ำปัสสาวะ

                     4. สบู่และน้ำสำหรับทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand