การทำแผลเท้าเบาหวานด้วยวิธีสูญญากาศ (VAC Dressing)
การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการพัฒนาการดูแลแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
กลุ่มการพยาบาลร่วมกับ PCTศัลยกรรม โรงพยาบาลสกลนคร ได้พัฒนาคุณภาพการทำแผลผู้ป่วยเบาหวาน โดยการนำนวัตกรรมการทำแผลด้วยระบบสูญญากาศมาใช้เพื่อช่วยกระตุ้นการหายของแผลให้เร็วขึ้น เริ่มต้นได้นำมาพัฒนาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง ได้แก่ แผลกดทับที่มีขนาดใหญ่ ๆ และผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลประเภท Infection Diabetic Ulcer with amputation and non amputation
โดยได้รับความรู้และได้ฝึกทักษะการทำแผลด้วยแรงดันลบ(Vaccuum Assisted Clousure Dressing : VAC) จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ Advanced Chronic Wound Care 6 th จัดโดยคณะพยาบาลศาสตร์ รพ.รามาธิบดี อาจารย์พยาบาลที่สอนท่านเก่งมาก ๆ และมีความเชี่ยวชาญพิเศษ คือ รศ.ดร.นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ และทีมงานพี่ๆพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลบาดแผล และทีม อาจารย์สมเกียรติ มหาอุดมพร และทีมงาน ภายหลังการพัฒนา ทดลองนำร่อง จนได้ผลลัพธ์เป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วย แผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย จึงนำมาขยายผลโดยเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพบุคลากรพยาบาล ในหอผู้ป่วยของแผนกศัลยกรรม เน้นการทำแผลที่มีความซับซ้อน ฝึกตั้งแต่การประเมินบาดแผล ทักษะการล้างแผลด้วยแรงดัน การทำ VAC จนกระทั่งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ การทำแผล ตอนนี้น้อง ๆก้าวไปไกลแล้ว เปิดบริการรับการปรึกษาเรื่องการทำแผลจากแผนกอื่นได้แล้วนะคะ และได้รับรางวัลถึง 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานวิชาการและนวัตกรรมทางการพยาบาล ปี 2551 และมีโอกาสได้นำเสนอผลงานในเวทีการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง Professional Practice : Chronic Disease เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 จัดโดยสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และผลงานวิชาการดีเด่น รองชนะเลิศอันดับ 1 จากเวทีการประชุมวิชาการประจำปี ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่สกลนคร