แอพสุขภาพ-เตือนภัย เทรนด์ใหม่คนยุคไอที

 

สมัย นี้ถ้าใครไม่มี "แอพ" คงต้องเรียกว่า ตกเทรนด์ แต่ "แอพ" ในที่นี้ ไม่ใช่แอ๊บแบ๊ว หรือแอ๊บสวย หากเป็น "แอพพลิเคชั่น" ที่ช่วยให้คนยุคนี้สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สลับซับซ้อน ทั้งสร้างเอกสาร แก้ไขรูปภาพ ฟังเพลง เช็กอีเมล์ เป็นต้น

เทคโนโลยีถ้าพัฒนา อย่างสร้างสรรค์ก็จะสร้างประโยชน์ได้มหาศาล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล็งเห็นถึง "ประโยชน์" ในเรื่องนี้ จึงร่วมกันลงนามทางวิชาการและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ "ยกระดับ" คุณภาพชีวิตของคนในสังคม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สวทช. บอกว่า สวทช.ดำเนินการเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ขาดเครือข่ายในการนำไปใช้งาน วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำงานวิจัยไปสู่คนในสังคมโดยใช้เทคโนโลยี เพราะปัจจุบันทุกพื้นที่มีอินเตอร์เน็ตใช้กันหมด จะได้สร้างเสริมสิ่งดีและป้องกันสิ่งไม่ดีให้เรา เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับสังคมไทย

"สวทช.กับ สสส.จะร่วมพัฒนางานใน 3 ด้าน คือ 1.การพัฒนาเยาวชนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีในการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น โครงการประกวดการพัฒนาโปรแกรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชน 2.การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น การพัฒนาโปรแกรมบนมือถือให้บริการข้อมูลโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยาที่ถูกต้อง 3.การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน เช่น ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับพิการและผู้สูงอายุ โดยการพัฒนาชุดอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ใช้งานได้ทั้งจากสวิตช์ปกติ และควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล ในรัศมี 20-30 เมตร จากเครื่องติดตั้ง และพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยติดตั้งอุปกรณ์เพื่อส่งสัญ ญาณเตือนภัย ในรูปแบบไซเรน กรณีขอความช่วยเหลือ เพื่อแจ้งให้คนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงรับทราบ เป็นต้น"

ด้าน ท.พ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างเสริมสุขภาพปัจจุบันแพร่หลายในหลายประเทศ ยืนยันจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของประชาชน 25 ล้านคนหรือเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ จำนวนนี้มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมากถึงกว่า 1.2 แสนครั้งต่อเดือน เฉลี่ยแล้ววันละ 40,600 ครั้ง ล่าสุดในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก หรือมีผู้ใช้กว่า 14 ล้านคน และมีผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกกว่า 1 ล้านคน สะท้อนว่าประชาชนค้นหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น

ท.พ.กฤษดากล่าวต่อว่า จากข้อมูลสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านสร้างเสริมสุขภาพ เฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายด้านสุขภาพสูงมากกว่าปีละ 400,000 ล้านบาท หากมีนวัตกรรมที่ช่วยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรได้ ก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

"ขณะ นี้สวทช.มีหลายโครงการที่เริ่มทำไปแล้ว อย่างแอพพลิเคชั่นข้อมูลทางโภชนาการ ผู้สนใจเข้าไปดาวน์โหลด ซึ่งจะนำมา ทดลองใช้งานจริงกับเครือข่ายต่างๆ ของสสส.ที่มีแกนนำเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพที่มีมากกว่า 30,000 คน ที่จะนำนวัตกรรม หรืองานวิจัยที่สวทช.คิดค้นมาใช้งานจริง เพื่อนำไปสู่การใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคต เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพบุคคล และโครงการพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีจะสามารถช่วยให้คุณภาพของประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลขาดแคลนแพทย์ พยาบาล" ผู้จัดการสสส.กล่าว

สำหรับเทคโนโลยีระบบข้อมูลเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่คิดค้นขึ้น มีการพัฒนานำโปรแกรมไปใช้บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน ที่มีระบบปฏิบัติการ Android 2.3 ขึ้นไป และ iOS 4.3 ดังเช่น แอพพลิเคชั่น "ยากับคุณ" Ya&You ที่สำหรับค้นหาข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาและการ ดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง ซึ่งร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็ก ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค

ด้วย แอพพลิเคชั่นนี้ คนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลยาและสุขภาพได้สะดวก รวดเร็ว และเห็นผลการค้นเป็นภาษาไทยที่เข้าใจง่าย และบุคลากรทางแพทย์ยังสามารถเข้าใช้ข้อมูลนี้ เพื่อช่วยในการสื่อสารกับผู้ป่วยได้ด้วย สามารถดาวน์โหลดแอพได้ที่ http://itunes.apple.com/us/app/yaandyou/id459400481?ls=1&mt=8

นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการเรื่อง "โภชนาการ" ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ด้วยโปร แกรม "บันทึกพฤติกรรมการกินอาหาร" หรือ FoodiEat เป็นโปรแกรมสำหรับเก็บประวัติการกินอาหารในแต่ละมื้อของวัน

ผู้ใช้สามารถกรอกปริมาณแคลอรีของอาหารที่กิน หรือเลือกค่าประมาณแคลอรีของอาหารยอดนิยมและเครื่องดื่มกว่า 200 รายการ ซึ่งฐานข้อมูลนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโภชนาการ มหา วิทยาลัยมหิดล ทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ว่าในแต่ละ วันกินอาหารอะไรไปบ้างและคิดเป็นพลังงานกี่แคลอรี

แต่หากอยากรู้ว่าร่างกายใช้พลังงานในแต่ละวันไปเท่าไหร่ หรือต้องการจะลดความอ้วน แอพพลิเคชั่นนี้ยังมีระบบยังคำนวณค่าดรรชนีมวลกายและอัตราความต้องการเผา ผลาญพลังงานในแต่ละวันของผู้ใช้ ซึ่งเมื่อนำมาใช้ร่วมกับประวัติ การกินอาหารของโปรแกรมนี้ จะรู้ว่าอาหารที่กินเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายหรือไม่ แอพพลิเคชั่นนี้สามารถดาวน์ โหลดได้ที่ http://itunes.apple.com/us/app/foodieat/id457777854 ?ls=1&mt=8

เทคโนโลยี ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับพิการและผู้สูงอายุ คือเครื่องช่วยฟังดิจิตอลแบบพกพา รุ่น PO2 ที่เนคเทคกับบริษัท ไอเมด ลาบอราทอรี่ จำกัด ร่วมกันคิดค้นขึ้น ซึ่งเครื่องช่วยฟังนี้สามารถเชื่อมต่อกับมือถือผ่านทางบลูทูธสำหรับผู้มี ปัญหาการได้ยิน เช่น ผู้สูงอายุ และผู้พิการซึ่งจะช่วยยกระดับการได้ยินของผู้สูงอายุ ให้ได้ยินชัดเจนมากขึ้น

ในอนาคตอาจมีการพัฒนาระบบสร้างเสริม สุขภาวะให้ยั่งยืนต่อไป

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand