ม่านตาอักเสบ

ม่านตาอักเสบเกิดขึ้นได้หลายแบบที่พบบ่อยที่สุดคือม่านตาส่วนหน้าอักเสบ หรือที่เรียกว่า anterior uveitis พบ ได้มากถึงร้อยละ 75 ของทั้งหมด ส่วนการอักเสบของม่านตาส่วนกลางและส่วนหลัง พบได้น้อยกว่า บางรายอาจเกิดการอักเสบของม่านตาทุกส่วน ซึ่งในกรณีที่การอักเสบเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาการมักจะเป็นอยู่ไม่นาน แต่ในรายที่เกิดเป็นโรคเรื้อรัง อาการมักจะกลับเป็นซ้ำ เป็นๆ หายๆ ถือว่าเป็นภาวะที่เป็นอันตรายที่ต้องได้รับการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมและทัน ท่วงที

 

ในanterior uveitisประเทศสหรัฐอเมริกา พบ ว่ามีผู้ป่วยโรคม่านตาอักเสบปีละ 350,000 คน และเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดมากถึงร้อยละ 10 ของทั้งหมด จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าแนวโน้มของโรคนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างน้อยสาม เท่า

สาเหตุ

ม่านตาเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของลูกตา ทำ หน้าที่ควบคุมให้แสงผ่านเข้าสู่ตามากน้อยแล้วแต่สภาวะ ซึ่งเรียกว่ารูม่านตา เช่นถ้าในภาวะที่มีแสงแดดจัดๆ รูม่านตาจะเล็กลงและในที่มืดๆรูม่านตาจะขยายกว้างขึ้น เราจะสังเกตุเห็นม่านตาเป็นสีน้ำตาลและมีรูตรงกลางเป็นสีดำๆ

กระบวนการของการอักเสบอาจจะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ เนื้อร้ายหรือมะเร็ง การที่ได้รับสารพิษ และโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ในบางรายโรคนี้เกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ

  1. ม่านตาอักเสบที่เกิดจากโรคออโตอิมมูน เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคกระดูกหลังแข็ง มักเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและมีประวัติโรคออโตอิมมูนในครอบครัวที่ ชัดเจนanterior uveitis
  2. โรคออโตอิมมูนชนิดที่พบว่าอาจเป็นสาเหตุของม่านตาอักเสบ ได้แก่ สาร์คอยโดซิส โรคสะเก็ดเงิน โรคลำไส้อักเสบไอบีดี
  3. เกิดจากโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือโรคติดเชื้อรา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยวัณโรคที่มีอาการม่านตาอักเสบได้ประปราย

อาการ

การเกิดโรคกับม่านตาเช่นเกิดการอักเสบ จะทำให้เกิดอาการปวดตา เนื่องจากเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อม่านตา ผู้ป่วยมีอาการตาแดงและสู้แสงแดดไม่ค่อยได้ บางรายอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย อาจสังเกตเห็น
รูม่านตาของผู้ป่วยมีขนาดเล็กลง อย่างไรก็ตามในกรณีที่ม่านตาส่วนหลังอักเสบ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการปวดตา

การวินิจฉัย

anterior uveitisสามารถให้การวินิจฉัยได้จากลักษณะประวัติอาการ การ ตรวจทางจักษุวิทยา และต้องแยกก่อนว่าภาวะที่เกิดอยู่นั้นมิได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือเนื้อร้ายซึ่งจะต้องรักษาไปตามสาเหตุนั้นๆ เช่น โรคซิฟิลิส เริม งูสวัด เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคม่านตาอักเสบแตกต่างจากเยื่อบุตาอักเสบ โดยที่โรคเยื่อบุตาอักเสบจะไม่มีผลกระทบต่อสายตา ไม่ตรวจไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างด้านในลูกตา

หากไม่ได้รับการรักษา ม่าน ตาที่อักเสบจะเริ่มยึดติดกับส่วนหน้าของเลนส์ตา ทำให้ของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนผ่านทางรูม่านตาได้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างถาวร ความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นเกิดเป็นต้อหิน
และโรคนี้ยังทำให้เกิดต้อกระจกจนตาบอดได้

การรักษา

การรักษาม่านตาอักเสบโดยทั่วไปจะ ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตอรอยด์และยาขยายม่านตา เพื่อลดการอักเสบของตาลง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อม่านตาทำให้ปวดตาน้อยลง ตาแดงน้อยลงและป้องกันการยึดติดระหว่างม่านตาและแก้วตา ซึ่งมีผลทำให้เกิดต้อหินหรือต้อกระจกตามมาได้

ยาจำพวกสเตอรอยด์มีทั้งที่เป็นยาหยอดตา ยา ฉีดและยากิน โดยทั่วไปจะเริ่มโดยการใช้ยาหยอดตาร่วมกับยาขยายม่านตา ซึ่งควรจะเริ่มเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มพบอาการ ระยะแรกการหยอดตาอาจต้องหยอดบ่อยมากเช่นทุกหนึ่งชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลเร็วและช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดยาลงจนสามารถหยุดยาได้ ยาหยอดตาจำพวกสเตอรอยด์จะลดปฏิกิริยาการอักเสบได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังในกรณีที่สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

anterior uveitisในกรณีที่ยาหยอดตาไม่สามารถควบคุมการอักเสบอย่างได้ผลก็จะใช้ยาฉีดแทน โดย ฉีดเข้าบริเวณข้างๆ ลูกตาในกระบอกตา และสามารถฉีดซ้ำเป็นระยะๆ ได้ทุก 2-6 สัปดาห์แล้วแต่ชนิดของยาฉีดและการควบคุมการอักเสบที่ลูกตาว่าได้ผลเพียงใด

ส่วนยารับประทานนั้นมัก จะใช้ในกรณีที่การหยอดตาและการฉีดไม่ได้ผล หลังจากการควบคุมการอักเสบได้แล้วจึงค่อยๆ ลดปริมาณยาลงอย่างช้าๆ ไม่ควรหยุดยาทันทีทันใด เพราะอาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้อีก

นอกจากยากลุ่มสเตอรอยด์แล้ว อาจ ใช้ยากลุ่มที่กดระบบภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคก็ได้ ในกรณีที่ยาพวกสเตอรอยด์ไม่ได้ผล แต่อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบเลือด ตับ ไต และระบบน้ำเหลืองได้จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

เมื่อเดือนเมษายน 2005 สำนัก งานอาหารและยาสหรัฐอนุมัติจดทะเบียนยาใหม่ใช้สำหรับรักษาโรคม่านตาอักเสบ ชนิด chronic non-infectious posterior uveitis ชื่อ Retisert ของบริษัท Bausch & Lomb โดยเป็นยาชนิดแรกที่ฝังไว้ในส่วนหลังของลูกตา จะปล่อยสารออกฤทธิ์ ฟลูโอซิโนโลนอะเซ็ตโนไนด์ ออกมาในปริมาณคงที่เป็นเวลานานถึงสองปีครึ่ง ผลการศึกษาวิจัยพบว่าช่วยลดอุบัติการเกิดซ้ำของโรคม่านตาอักเสบ จากร้อยละ 50 ลงมาเหลือร้อยละ 10

*ข้อความที่เป็นโฆษณาทั้งหมดใน eldercarethailand.com ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของท่านในการตัดสินใจ กรุณารวบรวมข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจเลือก ทาง Elder Care Thailand ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของทางศูนย์ดูแลฯ ใด ๆ ทั้งสิน*

Copyright © 2011 ข้อมูล ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand. Designed by eldercarethailand